จิตใต้สำนึก, การบำบัดจิตใต้สำนึก

“จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” เพื่อนๆคงเคยได้ยินประโยคนี้ แต่รู้หรือไม่ว่า “จิต” มีพลังและมีอิทธิพลกับการใช้ชีวิตของเรามากมายขนาดไหน การที่เราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จ หรือมีความทุกข์และอาจล้มเหลวในชีวิตได้นั้น ขึ้นอยู่กับจิตใจของเราเป็นสำคัญ หรือแม้กระทั่งความเจ็บป่วยทั้งทางกายและใจของเรา ก็มีผลมาจาก จิตในส่วนลึกของเราที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยและสร้างปัญหาในชีวิตให้กับเราได้ ซึ่งเราเรียกจิตส่วนนี้ว่า “จิตใต้สำนึก” แล้วจิตใต้สำนึกคืออะไร? มีอิทธิพลกับชีวิตเราอย่างไร? ลองอ่านข้อมูลความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมดูนะคะ เพื่อที่จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของจิตใจตัวเองกันมากขึ้นค่ะ

จิตใต้สำนึก

จิตใต้สำนึกคืออะไร?

จากทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Theory) ของ เวอร์จิเนียร์ ซาเทียร์ (Virginia Satir) ได้แบ่งระดับของจิตมนุษย์เราไว้ 2 ระดับ คือ จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ซึ่งจิตสำนึก เปรียบเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ทักษะต่าง ๆ  รวมถึงการกระทำ คำพูด พฤติกรรมบางอย่าง รูปแบบในการดำเนินชีวิต  ซึ่งเราสามารถควบคุมได้ ส่วนจิตใต้สำนึก เปรียบเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ หากเปรียบเทียบสัดส่วนแล้ว จิตสำนึกของคนเรามีสัดส่วนเพียงประมาณ 10% แต่จิตใต้สำนึกนั้นมีถึง 90%

จิตใต้สำนึก คือ จิตส่วนที่ทำหน้าที่ในการจดจำ บันทึกข้อมูล เรื่องราวหรือประสบการณ์ชีวิตของเรา ทั้งที่เป็นภาพเหตุการณ์ ความเชื่อ ความรู้สึก ทัศนคติ ทั้งที่เราจำได้และจำไม่ได้ ในสภาวะที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว แล้วสิ่งเหล่านั้นก็ถูกแสดงออกมาเป็น อุปนิสัยและพฤติกรรมองเรา รวมถึงมุมมองทางความคิดหรือทัศนคติองเรา

ไม่ว่าจะเป็นการตีความ ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด หรือการตัดสินใจ โดยเราไม่สามารถบังคับควบคุมความรู้สึกนึกคิดหรือพฤติกรรมเหล่านั้นได้ เพราะมันทำงานเป็นอัตโนมัติไปแล้ว เช่น อาการประหม่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าคนมากๆ การกินทั้งๆที่ไม่หิวแต่ไม่สามารถห้ามหรือหยุดพฤติกรรมนั้นได้

นอกจากนี้จิตใต้สำนึก ยังเป็นตัวที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท ฮอร์โมน ระบบกล้ามเนื้อ สมองจิตประสาท และระบบอวัยวะภายในของคนเราอยู่ลึกๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว

จิตใต้สำนึกมีอิทธิพลกับชีวิตเราอย่างไร?

ซิกมันต์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ได้กล่าวไว้ว่า หากความปรารถนาในจิตใต้สำนึกไม่บรรลุผล จะทำให้เกิดการฝันหรืออาการทางประสาทได้

จิตใต้สำนึก

ถ้าจิตใต้สำนึกของเราได้รับการบำบัดดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม หรืออยู่ในสภาวะที่มีแต่ข้อมูลดี ๆ ก็จะส่งผลให้อวัยวะภายในของเราทำงานสงบเรียบร้อยเป็นปกติ มีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ

แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากจิตใต้สำนึกองเรารับรู้แต่ข้อมูลแย่ๆ สะสมความเครียด ความวิตกกังวล ความผิดหวังซ้ำ ๆ ความเศร้าโศกเสียใจ โดยที่ไม่รู้จักวิธีดูแลหรือบริหารจัดการกับความกดดัน ความเครียดหรืออารมณ์เหล่านั้นออกไป จนประสบการณ์และอารมณ์ด้านลบเหล่านั้นถูกสะสมอยู่ในจิตใต้สำนึกและส่งผลรบกวนระบบการทำงานของร่างกายได้

ซึ่งจะส่งผลต่อสุภาพตามมามากมาย เช่น ผู้ที่เครียดจัด มักส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ใจสั่น หอบ เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน น้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวาน หรือ โรคมะเร็งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า ความทรงจำไม่ได้ถูกบันทึกไว้เฉพาะที่สมองเท่านั้น แต่ความทรงจำของคนเรามีสภาพเหมือนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสามารถสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายได้

ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรดูแลจิตใจเราให้ดี หาวิธีผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล และจัดการกับข้อมูลด้านลบๆที่เกิดขึ้นให้ดีพอ ก็เท่ากับเป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจสู่ดุลยภาพ เพื่อช่วยให้อวัยวะในร่างกายทำงานเข้าสู่ภาวะปกติและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเราก็จะมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขกับการใช้ชีวิต

การปรับจิตใต้สำนึกหรือการบำบัดจิตใต้สำนึก ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของเราดีขึ้น บรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้อย่างน่ามหัศจรรย์ เช่น อาการไมเกรน นอนไม่หลับ เครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน หรือแม้กระทั้งโรคมะเร็ง สรุปก็คือ “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นั่นเอง

เมื่อเข้าใจแล้วว่า จิตใต้สำนึกคืออะไร? มีอิทธิพลกับชีวิตเราอย่างไร? เราก็ควรหันมาทำความเข้าใจกับตัวเราและจิตใจเราเอง แล้วใส่ใจที่จะ ปรับจิตใต้สำนึก ของเราให้ดีขึ้น เพื่อที่เราจะมีสุขภาพกายใจที่ดี มีความสุขและประสบความสำเร็จชีวิตได้อย่างที่เราต้องการนะคะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม>>> เปิดใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากับ 13 ปีที่ทุกข์ทรมาน

ที่มา : The best in you

Photos by Pixabay

8 COMMENTS

  1. […] อีกสิ่งหนึ่งที่จีได้เรียนรู้ทำให้จีเข้าใจและสามารถที่จะรับมือกับความอยากลืมแต่กลับจำได้ ก็คือการเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิตใต้สำนึก ซึ่งมันเป็นจิตส่วนลึกที่ทำหน้าที่บันทึกความทรงจำของเราไว้ มันไม่สามารถตีความได้ว่าเราชอบหรือไม่ชอบอะไร มันแค่รู้ว่าอะไรที่เรานึกถึงอยู่บ่อย ๆ ก็แสดงว่าเราต้องการสิ่งนั้นมันก็จะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นมาหาเรา และจีก็ได้ค้นพบวิธีที่นักจิตวิทยาหรือไลฟ์โค้ชใช้กันในการที่จะช่วยให้สามารถรับมือและจัดการกับความความคิดที่วนลูปหรืออาการอยากลืมแต่กลับจำของจีนั่นก็คือ เคล็ดลับช้างสีชมพู […]

  2. […] จากเรื่องราวและประสบการณ์ชีวิตของคุณอรที่ได้เล่าคร่าว ๆ ให้จีฟังก่อนที่จีจะแพลนการเยียวยาบำบัดจิตใต้สำนึกให้เธอนั้น อารมณ์ความรู้สึกที่เศร้าหมอง ขุ่นมัว ความรู้สึกผิดหวัง น้อยเนื้อต่ำใจ ความรู้สึกเจ็บปวดที่ท่วมท้นและกระตุ้นอาการของเธอนั้น สาเหตุสำคัญมาจากเหตุการณ์ที่ยังสะเทือนใจในวัยเด็กที่เธอได้สูญเสียคุณพ่อ และความรู้สึกขัดแย้งภายในใจที่เธอมีต่อตัวเองและผู้อื่น โดยเฉพาะปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและคุณพ่อของสามีของเธอที่เป็นความเครียดสะสมเรื้อรังมายาวนาน จีช่วยให้เธอได้เปิดใจเพื่อระบายความรู้สึกที่ท่วมท้นนั้นด้วยการโทรพูดคุยระบายไปบ้างแล้ว และการเยียวยาบำบัดจิตใต้สำนึกนี้จะช่วยเยียวยาและเคลียร์พลังความรู้สึกหรืออารมณ์ลบ ๆ ที่เธอได้กดเอาไว้มายาวนานที่ยังคั่งค้างอยู่ภายในใจ ซึ่งส่งผลให้โลกภายในใจของเธอเศร้าหมองและปั่นป่วน รวมทั้งปลดล็อคปมปัญหาภายในใจที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก เพื่อแก้ปัญหาชีวิตที่ติดขัดและช่วยให้เธอเชื่อมโยงกับเด็กน้อยภายในตัวเองเพื่อให้เธอรักและเมตตาตัวเองเป็นแล้วสามารถดึงศักยภาพที่ดีของเธอออกมาใช้ได้อย่างยอดเยี่ยม […]

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here