เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ทำไมเราไม่ค่อยมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตแบบที่ควรจะเป็น? แล้วอะไรที่เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้เรามีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น? จากการที่จีต้องเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคทางอารมณ์จนส่งผลกระทบต่อความสุขและความสำเร็จในชีวิต เรียกได้ว่าชีวิตและจิตใจพังยับเยิน แล้วจีก็ได้เรียนรู้ที่จะฝึกพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งมันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ที่ช่วยให้จีกลับมามีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตได้อีกครั้ง จีนำข้อมูลดี ๆ มาฝากเพื่อน ๆ เพื่อที่จะพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EI) เพื่อสร้างความสุขและความสำเร็จไปด้วยกันค่ะ
ความฉลาดทางอารมณ์ Emotional Intelligence : EI หรือที่คนไทยเรามักจะเรียกว่า EQ ( Emotional Quotient) คือ ความสามารถของคนในการรับรู้และตระหนักถึงสภาพอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองและของคนอื่น สามารถแยกแยะความแตกต่างของความรู้สึกต่าง ๆ และนิยามได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการสามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับอารมณ์เพื่อเป็นหลักให้ความคิดและพฤติกรรม และปรับอารมณ์ให้เข้ากับสถานการณ์หรือเป้าหมายของตัวเองได้
EI มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิตของคนเรา ทั้งด้านการงาน ธุรกิจ ครอบครัว หรือการเข้าสังคมมากกว่า IQ (Intelligence Quotient) หรือความฉลาดในเชิงเชาว์ปัญญาอย่างมาก
ปัจจุบันทั้งแวดวงวิชาการและธุรกิจให้ความสนใจเรื่องการวิจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EI กันมาก ซึ่งมีการศึกษาจำนวนมหาศาลที่พิสูจน์แล้วว่าคนที่มี EI สูงจะพัฒนาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด การเข้าสังคม รวมถึงการทำงานที่สามารถใช้ประกอบกับการพัฒนาภาวะผู้นำ การพัฒนาวุฒิภาวะอารมณ์ทีมงาน ความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการสรรหาคัดเลือกทีมงาน
Emotional Intelligence Model
โมเดลความฉลาดทางอารมณ์นี้ พัฒนามาจาก Annie Mckee ที่สอนในมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา นักเขียนที่เขียนหนังสือเรื่อง Primal Leadership ร่วมกับ Daniel Goleman และ Richard Boyatzis ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ
1. การตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness)
- รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง
- มั่นใจในตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถ
- เห็นคุณค่าในตนเอง
- รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง
- ประเมินตัวเองได้ตามความเป็นจริง
2. การมองในแง่บวก (Positive Outlook)
- มองปัญหาอุปสรรคเป็นความท้าทาย
- เห็น “ข้อดี” มากกว่า “ข้อเสีย”
- มอง “โอกาส” มากกว่า “ปัญหา”
- ชื่นชมมากกว่าจับผิด
- มีความหวังกับอนาคต
3. การควบคุมตนเอง (Self-control)
- บริหารความเครียดด ความโกรธ
- การมีสติในสภาวะยุ่งเหยิงหรือกดดัน
- การควบคุมตัวเองจากสิ่งยั่วยุ
- การแสดงอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์
- มีความอดทน อดกลั้น
4. การปรับตัว (Adaptability)
- การยืดหยุ่น
- การปรับเปลี่ยนเป้าหมาย
- การปรับเปลี่ยนลำดับความสำคัญ
- ปรับตัวได้เมื่อเจอกับการเปลี่ยนแปลง
5. การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy)
- การเข้าใจความรู้สึกของผู้คน
- รับฟังคนอื่น
- ทำความเข้าใจว่าทำไมผู้คนถึงแสดงออกแบบนั้น
- เข้าใจมุมมองที่แตกต่าง
- เข้าใจความหลากหลายของคน
จากข้อมูล การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EI) เพื่อความสุขและความสำเร็จ ที่จีนำมาฝากเพื่อน ๆ นี้ จีคิดว่าเพื่อน ๆ คงจะได้รับความรู้ความเข้าใจและสำรวจตัวเราเองแล้วว่า เรามีความฉลาดทางอารมณ์มากน้อยแค่ไหน หากใครยังไม่แน่ใจลองทำ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ นี้ดูนะคะ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม>>> จิตวิทยาการตอบสนอง เพื่อเข้าใจตนเองและผู้อื่น
ที่มา : istrong.co, IQ EQ พัฒนาสติปัญญาเด็กไทย – สถาบันราชานุกูล
![เพิ่มเพื่อน](https://scdn.line-apps.com/n/line_add_friends/btn/th.png)
[…] หรือที่เรียกว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) นั่นเอง […]
[…] พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) […]