โรคซึมเศร้า

เป็นโรคซึมเศร้าไม่กินยารักษาได้ไหม? คำถามนี้เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตที่คุณหมอหรือแม้กระทั่งตัวจีเองถูกถามเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคนที่คิดว่าตัวเองเข้าข่ายเหมือนจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่ยังไม่ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาอย่างถูกต้อง เนื่องจากได้อ่านหรือรับรู้ข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงของยารักษาโรคซึมเศร้าและกระบวนการรักษาด้วยยาแล้วรู้สึกหวั่นใจ ทำให้หลาย ๆ คนไม่ยอมเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะกลัวว่าจะต้องกินยาหรือแม้กระทั่งตัวผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเองที่ได้รับการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยามานาน แล้วรู้สึกท้อไม่อยากกินยาแล้วจึงพยายามที่จะค้นหาการเยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าทางเลือกอื่น ๆ จีมีข้อมูลเพื่อให้เพื่อน ๆ ได้รับคำตอบที่ดีมาฝากกันค่ะ

โรคซึมเศร้า

จากข้อมูลเฟสบุ๊กเพจคลีนิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา คุณหมอเจษฎา ได้กล่าวว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า แต่ละระดับมีความแตกต่างกัน ในกรณีซึมเศร้าชนิดไม่รุนแรง (Mild MDD)  เราอาจไม่จำเป็นต้องกินยาต้านเศร้าก็ได้ อาจใช้การปรับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การออกกำลังกาย ปรับวิธีคิด ฝึกการคิดบวก การทำจิตบำบัด การนั่งสมาธิ หรือปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ก็อาจทำให้โรคดีขึ้นได้

อ่านบทความเพิ่มเติม : แชร์ประสบการณ์หายป่วยจากซึมเศร้า (แบบไม่ใช้ยา)

แต่ถ้าหากเป็นโรคซึมเศร้าในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง (Moderate-Servere MDD)  การกินยาต้านเศร้าจะมีบทบาทสำคัญต่อการหายของโรคค่อนข้างมาก เพราะประโยชน์ของการกินยารักษาโรคซึมเศร้าที่เห็นได้ชัดเจนเลย ก็คือ ยาจะช่วยย่นระยะเวลาของการเจ็บป่วยได้ 

คุณหมอเจษฎาได้กล่าวว่า หากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่กินยารักษาโรคซึมเศร้า โรคอาจจะเป็นอยู่นานเป็นปี ๆ และในขณะที่อาการของโรคดำเนินอยู่นั้น เราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรที่จะเป็นตัวกระตุ้นอาการของโรคบ้าง เช่น ผู้ป่วยอาจต้องออกจากงาน พักการเรียน หรือเกิดเหตุร้ายอื่น ๆ ส่งผลให้อาการรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ ถ้าเทียบกับการกินยารักษาโรคซึมเศร้าแล้วโรคอาจจะดีขึ้นภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน หรือการใช้ชีวิตมากนัก

จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า 10 คน หากได้รับการรักษาด้วยยาต้านเศร้า อาการจะดีขึ้นจนหายได้ถึง 8-9 คน ในขณะที่หากไม่ได้รับการรักษาอาการจะดีขึ้นเพียง 2-3 คนเท่านั้น (เฉพาะในรายที่อาการไม่รุนแรง) ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการรุนแรงแล้วอาจจะกล่าวได้ว่ายากที่จะหายได้เอง

จากข้อมูลของคุณหมอเจษฎา เราจะเห็นได้ว่ากรณีซึมเศร้าชนิดไม่รุนแรงนั้น เราอาจไม่จำเป้นต้องกินยาต้านเศร้าก็ได้ แค่ได้รับคำปรึกษาแนะนำจากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตของเราก็สามารถที่จะหายป่วยได้ แต่ส่วนใหญ่ที่พบก็คือ ปล่อยให้อาการของโรคซึมเศร้ารุนแรงแล้วค่อยเข้ารับการรักษา มันก็ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ยารักษาเพื่อควบคุมอาการและป้องกันอาการกำเริบที่ยาวนานขึ้นไปอีก

สำหรับใครที่กำลังสงสัยหรือคิดว่าตัวเองเข้าข่ายที่จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หากไม่อยากเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยา ก็ขอให้รีบไปพบจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและขอคำปรึกษากันเพื่อบำบัดรักษากันด่วนนะคะ ส่วนใครที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วจำเป็นต้องรักษาด้วยยาก็ขอให้มีวินัยในการกินยาตามที่คุณหมอแนะนำอย่างต่อเนื่องนะคะ

เป็นโรคซึมเศร้าไม่กินยารักษาได้ไหม? จีหวังว่าเพื่อน ๆ คงได้รับคำตอบที่เหมาะสมกับตัวเองกันนะคะ สำหรับใครที่ต้องใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าขอแนะนำว่าควรมองหาการเยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าทางเลือก ที่จะช่วยสนับสนุนให้การรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น จะได้ไม่ต้องพึ่งยาหรือใช้เวลาในการรักษาโรคซึมเศร้าที่ยาวนานเหมือนจีนะคะ

หากเพื่อน ๆ ต้องการเรียนรู้การเยียวยาบัดโรคซึมเศร้าหรือเยียวยาบำบัดจิตใจเพิ่มเติมสามารถเพิ่มเพื่อนในไลน์ทักแชทมาพูดคุยกันได้นะคะ

เพิ่มเพื่อน

ที่มา: คลีนิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา

Cr.Photos by Pixabay.com

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม>>> ยาไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการรักษาโรคซึมเศร้า

1 COMMENT

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here