CBT, การบำบัดความคิดและพฤติกรรม

คนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตเวช  มักจะมีความคิดที่บิดเบือนจากความเป็นจริงและทำให้ทุกข์ใจ เพราะมุมมองความคิดหรือทัศนคติของตนเอง ซึ่งบางทีผู้ป่วยเองอาจจะไม่รู้ตัว จีเองตอนป่วยด้วยโรคซึมเศร้าก็เผชิญกับปัญหานี้เช่นกันและยิ่งป่วยมายาวนานทั้งความคิดและพฤติกรรมบิดเบือน จนทำให้รู้สึกทุกข์ใจอย่างหนักหนาสาหัส จนกระทั้งได้เข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behaviour Therapy)  หรือ CBT มันช่วยให้จีได้ปรับความคิดและพฤติกรรมของตัวเองได้สอดคล้องกับความเป็นจริงและมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น ช่วยให้จีสามารถมีสติรับมือกับอาการของโรคและสถานการณ์ในชีวิตที่ต้องเผชืญในช่วงเวลาที่ป่วยได้ดีขึ้น จีจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับการบำบัด CBT นี้มาแชร์ให้กับเพื่อน ๆ ได้รู้จักและเข้าใจกันมากขึ้นค่ะ

CBT

 

CBT คืออะไร ?

CBT ย่อมาจาก Cognitive behaviour therapy เป็นจิตบำบัด (psychotherapy) อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมใช้เพื่อบำบัดผู้ป่วยโรคจิตเวชควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา  ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยจัดการกับอารมณ์ในทางลบของมนุษย์ เช่น เศร้า กังวล โกรธ ฯลฯ ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด (cognitive) และพฤติกรรม (behaviour) การบำบัดมีลักษณะเน้นที่ปัจจุบัน เจาะจงปัญหาที่ชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมายในการบำบัดอย่างเป็นรูปธรรม เน้นความร่วมมือของผู้รับการบำบัด เพื่อนำไปสู่การฝึกฝนทักษะในการจัดการกับปัญหาของตนเองให้ได้ดียิ่งขึ้น CBT มีประว้ติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่ยุคต้นที่มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก แต่ผู้ที่ถือว่าเป็น บิดาของ CBT  คือ ศ.ดร.อารอน ที. เบ็ก (Aron T. Beck)  เขานำส่วนความคิด (cognitive)  เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำ  cognitive therapy ซึ่งแตกต่างจาก behaviour therapy ในสมัยก่อน

ถึงแม้จุดตั้งต้นของ CBT จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา แต่พัฒนาการของ CBT  จนทุกวันนี้ จากการที่ Beck สนใจในพุทธศาสนาและได้พบกับท่านดาไลลามะ  ท่านจึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับพุทธศาสนา และ cognitive therapy  ซึ่ง CBT ถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ใกล้เคียงกับพุทธศาสนามาก ในส่วนของการรับรู้ตน  มีสติ  การจัดการกับตัวตนกับความคิดของเรา

 

CBT มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาโรคทางจิตเวชมากมาย โดยแสดงให้เห็นผ่านงานวิจัยต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคแพนิก โรคกลัวสังคม โรควิตกกังวลหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD)

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ “จัดการปัญหาสุขภาพจิต” หลายอย่าง ที่อาจไม่ถึงระดับที่เป็นโรคก็ได้ เช่น ปัญหาการควบคุมอารมณ์โกรธ ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาความรู้สึกผิดติดค้างในใจ เป็นต้น

CBT

หลักการบำบัดของ CBT

  1. ตระหนักรู้อาการ
  2. เรียนรู้พฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิด
  3. สังเกตรูปแบบความคิด เหตุผลที่หัวใจสำคัญของความรู้สึก และพฤติกรรม (กิจกรรมทางใจ)
  4. กลยุทธ์รับมือทางด้านจิตใจ เพื่อเอาชนะความรู้สึกที่แย่ สร้างเครื่องมือป้องกันจิตใจ
  5. เรียนรู้เหตุผลที่ควรพัฒนาสุขภาพจิต กลุยุทธ์ในการสื่อสาร

ซึ่งหลักการบำบัดของ CBT เหล่านี้ จีเองได้ลองศึกษาหาข้อมูลและเรียนรู้จดจำวิธีการบำบัดจากนักจิตวิทยาที่จีได้รับการบำบัด แล้วนำหลักการมาปรับใช้บำบัดความคิดและพฤติกรรมด้วยตัวเอง ซึ่งมันเป็นวิธีที่สอดคล้องกับหลักธรรมะของพระพุทธองค์ในเรื่องของการฝึกสติ จีจึงนำมาปรับใช้ควบคู่ไปกับการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันตามแนวทางที่หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชโช ที่จีได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติตามในยูทูบที่ท่านสอน ทำให้จีสามารถปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของตัวเองหลาย ๆ อย่าง ที่ส่งผลกระทบกับความเจ็บป่วยทางใจของจี แล้วช่วยให้อาการป่วยของจีดีขึ้นและมีความสุขกับชีวิตได้มากขึ้นอีกด้วย

สำหรับเพื่อน ๆ ที่ป่วยด้วย โรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ดังกล่าวมาแล้ว จีขอแนะนำ การบำบัดความคิดและพฤติกรรม หรือ CBT  กับผู้เชี่ยวชาญแล้วลองนำมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาตัวเองให้มีความคิดและพฤติกรรมที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าหากมีปัญหาทางด้านจิตใจหรือปมปัญหาในวัยเด็กจนส่งผลต่อจิตใต้สำนึกแล้ว ขอแนะนำการบำบัดจิตใต้สำนึกจะได้ผลดีกว่าและแก้ไขถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงค่ะ

หากใครสนใจการบำบัดแบบ  ลองเข้าไปดูได้ตามลิงค์นี้นะคะ ChulaCBT

ที่มา : วิกิพีเดีย, Rama Channel, ChulaCBT

Photos by Pixabay.com

Thumbnail Seller Link
7 เคล็ดลับ เอาชนะโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเอง
ศศินา แบล็ค
www.mebmarket.com
จีเป็นอดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่เคยป่วยแบบไม่รู้ตัวมาก่อนและรักษาตัวมายาวนานเกือบ 10 ปี ใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานกับความเจ็บป่วยทางใจ และไม่คิดว่าตัวเอง…
Get it now

12 COMMENTS

  1. […] การฝึกรับมือและจัดการความคิดของตัวเอง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะมันจะช่วยให้เราท้าทายกับความคิดลบของตัวเราเอง เพื่อให้เรามีมุมมองทางความคิดที่ถูกต้องและสอดคล้องกับความเป็นจริง เมื่อเราต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในชีวิตที่ไม่แน่นอน เราก็จะสามารถที่จะรับมือและจัดการกับมันได้อย่างเหมาะสม การบำบัดความคิดและพฤติกรรมช่วยได้มากทีเดียว […]

  2. […] การบำบัดทางความคิดหรือพฤติกรรม เป็นการบำบัดเพื่อปรับรูปแบบความคิดและพฤติกรรม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญหรือช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ผิดเพี้ยนไปให้สอดคล้องกับความเป็นจริง […]

  3. […] Cognitive Distortion คือ รูปแบบของความคิดที่ไม่เป็นจริงหรือบิดเบือนและนำมาซึ่งความคิดทางด้านลบ อารมณ์ด้านลบต่าง ๆ  ทำให้เรามองโลกผิดเพี้ยนหรือแย่ไปกว่าความเป็นจริง  ผู้ตั้งทฤษฎีนี้ขึ้นมา คือ ศาตราจารย์นายแพทย์แอรอน ที. เบค (Aaron T. Beck) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาด้านการปรับความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitiv… […]

  4. […] การบำบัดทางความคิดหรือพฤติกรรม เป็นการบำบัดเพื่อปรับรูปแบบความคิดและพฤติกรรม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญหรือช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ผิดเพี้ยนไปให้สอดคล้องกับความเป็นจริง […]

  5. […] หากเพื่อน ๆ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังแล้วรักษาด้วยยาอย่างเดียว ขอให้มองหาการทำจิตบำบัดควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ขอแนะนำการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (CBT) แล้วฝึกฝนตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองทางความคิดแ […]

Leave a Reply to 4 สิ่งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องปรับแล้วอาการจะดีขึ้น | GMinds Cancel reply

Please enter your comment!
Please enter your name here