โรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรคซึมเศร้าที่แท้จริงคืออะไร? เป็นเพราะสารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุลใช่ไหมถึงทำให้เราป่วยเป็นโรคซึมเศร้า? หลายคนอาจจะกำลังสงสัยและค้นหาคำตอบเหมือนที่จีเคยสงสัยเพราะป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามายาวนานแล้วไม่หายเสียที จนจีได้ค้นพบคำตอบที่ทำให้เข้าใจกระจ่างขึ้นและมองเห็นแนวทางในการรักษาบำบัดตัวเองจนสามารถหายป่วยจากโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งจีก็ใช้เวลายาวนานลองผิดลองถูกและค้นคว้าหาคำตอบ รวมทั้งแนวทางในการรักษาบำบัดโรคซึมเศร้าและเยียวยาตัวเองมาเกือบสิบปี จีนำข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า รวมทั้งประสบการณ์ความเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าของตัวเองมาแชร์เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ และผู้ที่สนใจค่ะ

โรคซึมเศร้า

เมื่อก่อนจีเคยคิดว่า สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากสารสื่อประสาทไม่สมดุลและการกินยารักษาจะช่วยให้หายป่วยจากโรคซึมเศร้าได้ แต่เมื่อจีได้ค้นคว้าหาข้อมูลความรู้ด้วยตัวเองจึงค้นพบว่าตัวเองเข้าใจผิดมายาวนาน แน่นอนว่ามันก็ส่งผลให้จีเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามายาวนานเช่นกัน เพราะจีไม่ได้รับการรักษาบำบัดหรือเยียวยาแก้ไขปัจจัยหรือสาเหตุที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลให้จีป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอย่างถูกต้องเหมาะสม

จากการค้นคว้าหาข้อมูลทั้งทางอินเตอร์เน็ตและอ่านหนังสือเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่ผ่านมา ทำให้จีได้ค้นพบว่า…

“ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรืองานศึกษาวิจัยใด ๆ ที่บ่งชี้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคซึมเศร้าได้ มีเพียงสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยเป็นแนวทางในการรักษาบำบัดเท่านั้น”

สารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุลนั้นเป็นเพียงสาเหตุปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ แต่มันดูเหมือนว่าจะเป็นปลายเหตุ และเราส่วนใหญ่ก็แก้ปัญหาที่ปลายเหตุจึงทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี หรือต้องกินยาเพื่อควบคุมอาการไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ว่าจะต้องกินไปอีกนานแค่ไหน บางทีสามารถหยุดยารักษาได้แล้วคิดว่าหายป่วย แต่ไม่นานก็กลับมาป่วยซ้ำแล้วก็ต้องรักษาด้วยยาอีก

ในตอนที่จีกลับมาป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอีกครั้งหลังจากรักษาด้วยยาอย่างเดียวมานานประมาณห้าปี จีจึงได้ค้นพบว่าการที่จะหายป่วยจากโรคซึมเศร้าได้นั้น ไม่ใช่การกินยารักษาเพียงอย่างเดียวเพราะโรคซึมเศร้ามีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง จีได้ค้นพบข้อมูลที่น่าสนใจของ นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรสกุล ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าไว้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

ปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ปัจจัยทางชีววิทยา ได้แก่ พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง (Neurotransmitters) และการปรับประดับฮอร์โมนในสมอง (Neuroendocrine regulation)
  2. ปัจจัยทางจิตสังคม ได้แก่ ความเครียดจากเหตุการณ์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ครอบครัวและบุคลิกภาพ

ปัจจัยทางพันธุกรรม

หากพ่อแม่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ลูกจะมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ถึง 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับอัตราการเกิดโรคของลูกที่พ่อแม่ไม่ได้ป่วย นอกจากนี้หากเป็นคู่แฝดที่ไข่ใบเดียวกันป่วย อีกคนจะมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นว่าผู้มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมจะต้องเป็นโรคซึมเศร้าทุกราย ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคซึ่งทำให้คนเหล่านี้เปราะบางที่จะเกิดอาการได้ง่ายเมื่อมีปัจจัยอื่นเสริมร่วมด้วย

ปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง

สารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า คือ เซโรโทนิน (Serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine)   และโดปามีน (Dopamine)  โดยพบว่าผู้ป่วยในภาวะซึมเศร้าบางรายมีการทำงานฃองสารสื่อประสาทดังกล่าวลดลงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า โดยอาจเป็นสาเหตุของภาวะโรคหรือเป็นการปรับตัวของร่างกายต่อภาวะซึมเศร้าก็ได้

โรคซึมเศร้า

ปัจจัยจากระดับของฮอร์โมนในสมอง

สมองส่วนฮิปโปธารามัส (Hypothalamus)   เป็นศูนย์กลางในการควบคุมระดับฮอร์โมนในสมองหลายชนิด โดยเฉพาะในส่วน Hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis และ hypothalamic-pituitary-thyroid (HPT) axis   ซึ่งทำหน้าที่ปรับระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล  cortisol และ  thyroid stimulating hormone (TSH) หากมีความผิดปกติในระดับการทำงานดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคได้

ปัจจัยความเครียดในเหตุการณ์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Life events and Environmental stress)

เหตุการณ์ในชีวิตที่มีความเครียดทั้งหลายนั้น เมื่อเกิดขึ้นกับคนเราในครั้งแรกแล้ว ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสมองระยะยาวได้ และทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้าในครั้งต่อ ๆ มาได้ แม้จะไม่มีความเครียดจากภายนอกก็ตาม ผู้ที่มีความเครียดจากการสูญเสียพ่อหรือแม่ก่อนอายุ 11  ขวบ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้าในภายหลัง บางรายงานการศึกษากล่าวว่าอาจจะเป็นการยากที่จะสรุปว่าความเครียดจากภายนอกอย่างเดียวจะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงได้ 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าผู้ที่เคยมีอาการซึมเศร้ามาก่อน เมื่อเผชิญกับความเครียดใหม่ จะมีความมั่นใจน้อยลงในการจัดการกับปัญหา ทำให้ง่ายต่อการเกิดโรคซึมเศร้าซ้ำได้

ปัจจัยทางครอบครัว

มีการศึกษาพบว่า ปัจจัยโรคซึมเศร้าในพ่อแม่เป็นตัวทำนายที่สำคัญต่อการเกิดโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลในลูกได้ดีกว่าปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในครอบครัว  ในขณะที่ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในครอบครัวเป็นตัวทำนายการใช้สารเสพติดในลูกได้ดีกว่าปัจจัยโรคซึมเศร้าในพ่อแม่

ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ 

ไม่พบว่ามีลักษณะบุคลิกภาพหรือบุคลิกภาพที่ผิดปกติใดที่เป็นพื้นฐานในการทำให้เกิดโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะ  แต่ผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพชนิด Oral-dependence, Obsessive-compulsive  และ Hysterical  น่าจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายกว่าบุคลิกภาพชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะคนที่ชอบโทษผู้อื่น พวกนี้มักไม่ค่อยเกิดโรคซึมเศร้า เพราะใช้กลไกทางจิตแบบปกป้องตนเองเสียมากกว่า

โรคซึมเศร้า

หลังจากที่จีได้ทำความเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านี้ที่ส่งผลให้จีป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว นอกจากจีจะรักษาด้วยยาแล้วจียังค้นหาการเยียวยาบำบัดจิตใจที่เหมาะสมและตอบโจทย์ความเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าของตัวเอง การได้รับการบำบัดกับนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญช่วยสนับสนุนให้จีสามารถก้าวข้ามผ่านโรคซึมเศร้ามาได้

หากใครมีปัจจัยทางด้านจิตสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยาอย่างเดียวมายาวนาน ขอแนะนำว่าให้มองหาการบำบัดโดยอาจจะปรึกษากับจิตแพทย์ที่รักษาเราหรือปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อที่จะได้รับการบำบัดที่เหมาะสม การรักษาด้วยยาจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาการจะได้ดีขึ้นแล้วหายป่วยได้เหมือนอย่างที่จีได้เคยทำมานะคะ

หรือถ้าหากว่าลองปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาแล้วยังเข้าไม่ถึงใจเราหรือไม่ตอบโจทย์ความเจ็บป่วยของเรา ก็สามารถทักแชทมาคุยกับจีทางเพจเยียวยารักษาใจ : Heal your mind by GG ได้ หรือถ้าหากสนใจเรียนรู้การเยียวยาบำบัดตัวเองตามแนวทางของจีก็สามารถมาร่วมเรียนรู้และพัฒนาตัวเองไปด้วยกันเพื่อก้าวข้ามผ่านโรคซึมเศร้าไปได้ในคอร์สออนไลน์ 7 เคล็ดลับเอาชนะโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเอง

ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคซึมเศร้าได้ แต่อย่างน้อยเราก็ทราบถึงสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้บ้างแล้ว ถ้าหากเราอยากหายป่วยจากโรคซึมเศร้า ก็ควรพิจารณถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเลือกการรักษาบำบัดที่เหมาะสม รวมทั้งสร้างสมดุลชีวิตและจิตใจเพื่อป้องกันการกลับมาป่วยซ้ำได้นั้น มันก็ทำให้เราสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขมากขึ้นนะคะ

อ้างอิงข้อมูล : โรคซึมเศร้า( Depression : Diagnosis and treatment) ตีพิมพ์ในวารสาร Infocus ปี 2008 นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล

โรคซึมเศร้ารักษาให้หายได้ไหม? แล้วจะหายขาดไหม?

หากเพื่อน ๆ ต้องการเรียนรู้การเยียวยาบัดโรคซึมเศร้าหรือเยียวยาบำบัดจิตใจเพิ่มเติมสามารถเพิ่มเพื่อนในไลน์ทักแชทมาพูดคุยกันได้นะคะ

เพิ่มเพื่อน
Thumbnail Seller Link
7 เคล็ดลับ เอาชนะโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเอง
ศศินา แบล็ค
www.mebmarket.com
จีเป็นอดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่เคยป่วยแบบไม่รู้ตัวมาก่อนและรักษาตัวมายาวนานเกือบ 10 ปี ใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานกับความเจ็บป่วยทางใจ และไม่คิดว่าตัวเอง…
Get it now

4 COMMENTS

  1. […] ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นเกิดจากสารเคมีในสมองขาดสมดุล แต่ความจริงแล้วมันเป็นเพียงสาเหตุปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรืองานศึกษาวิจัยใดบ่งชี้สาเหตุที่แท้จริงได้ แต่สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้านั้นมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง การปรับระดับฮอร์โมนในสมอง ความเครียดจากเหตุการณ์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ครอบครัวและบุคลิกภาพ ดังนั้นการกินยารักษาโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถช่วยให้หายป่วยได้ เนื่องจากยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป […]

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here