อีกหนึ่งกรณีศึกษาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อนุญาตให้จีนำมาแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ เป็นแรงบันดาลใจและส่งต่อกำลังใจให้กับเพื่อนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รู้สึกว่าตัวเองสู้อย่างโดดเดี่ยว ต้องการใครสักคนที่เข้าใจ คอยรับฟังอยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจเพื่อก้าวข้ามผ่านโรคซึมเศร้าไปด้วยกัน เมื่อเราเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เปิดใจเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจกับโรคซึมเศร้า เข้าใจตัวเราเอง และมองหาการเยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าที่เหมาะสม เราก็จะสามารถลดการใช้ยาแล้วมองเห็นหนทางที่จะช่วยให้เราอาการดีขึ้นและหายป่วยได้แบบไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเกินจำเป็น กรณีศึกษาของน้องฟ้า (นามสมมติ) จะช่วยให้เพื่อนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้มองเห็นแนวทางในการก้าวข้ามผ่านโรคซึมเศร้าและแนวทางในการฝึกดูแลเยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเองค่ะ

น้องฟ้า (นามสมมติ) อายุ 23 ปี เริ่มป่วยด้วยโรคซึมเศร้าประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และมีอาการแพนิกร่วมด้วย น้องตัดสินใจเข้ารับการรักษาและกินยารักษาโรคซึมเศร้าเมื่อต้นเดือนมีนาคม น้องทักจีมาทางอินบ๊อกซ์ เพจเยียวยารักษาใจ : Heal your mind by GG ด้วยความรู้สึกเครียด กลัวและกังวลกับอาการต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญ เรื่องที่น้องกังวลมากในตอนนั้นคือเรื่องการนอนไม่หลับและไม่อยากกินยานอนหลับเพราะกลัวว่าจะติดยา น้องจึงพยายามที่จะหลับเองโดยไม่ใช้ยาแต่ก็ไม่สำเร็จ ทำให้รู้สึกปวดหัวและเพลียมาก ในช่วงปรับยาเป็นธรรมดาที่น้องจะได้รับผลข้างเคียงของยา บวกกับอาการของโรคซึมเศร้าและอาการแพนิกเลยทำให้รู้สึกแย่ กลัว กังวล ไม่รู้จะรับมือยังไงดี รู้สึกเหมือนควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ อาการที่มีจะเป็นหนักในช่วงเย็น ๆ ค่ำ ๆ ซึ่งเป็นอาการที่น้องบอกคร่าว ๆ หลังจากที่น้องตัดสินใจเปิดใจเรียนรู้ใน คอร์สออนไลน์ 7 เคล็ดลับ เอาชนะโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเอง จีช่วยสนับสนุนเพื่อให้น้องได้มองเห็นแนวทางในการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพและการเยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง เพื่อที่จะก้าวข้ามผ่านโรคซึมเศร้าของตัวเองไปได้ง่ายขึ้น

7 เคล็ดลับ เอาชนะโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเอง

เคล็ดลับที่ 1 ทักทายเพื่อนร่วมทาง (โรคซึมเศร้า)

จีช่วยให้น้องฟ้าได้ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า เข้าใจสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วย ทำความเข้าใจกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องฝึกรับมือและจัดการกับมัน ในช่วงเวลาที่เพิ่งเริ่มกินยารักษาโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องเจอกับทั้งอาการของโรค ผลข้างเคียงของยาและปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นผลกระทบจากโรคมากมาย ยิ่งถ้าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว มีปัจจัยหรือโรคอื่นร่วมด้วยมันสามารถสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยยิ่งกว่า กรณีของน้องฟ้านี้เป็นโรคซึมเศร้าแล้วมีอาการแพนิกร่วมด้วย จึงทำให้เธอมีความเครียด วิตกกังวล กล้ว สงสัยกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงปรับยามากขึ้นไปอีก

จากการที่ได้พูดคุยกันสาเหตุที่คิดว่าส่งผลให้น้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้นมาจากความเครียด ความกดดันภายในครอบครัวที่สะสมมานาน อีกทั้งน้องเพิ่งเรียนจบแล้วตกงานจึงทำให้รู้สึกวิตกกังวล น้องบอกว่าคนในครอบครัวชอบทะเลาะกัน ไม่เข้าใจกัน ทำให้รู้สึกว่าบ้านไม่ใช่ Save Zone และรู้สึกว่าแม่ไม่ค่อยเข้าใจ มักจะต่อว่าน้องก่อนเสมอเวลาที่แม่ไม่พอใจ และใช้คำพูดที่ทำให้น้องรู้สึกแย่

“คนเรามักจะกลัวในสิ่งที่เราไม่รู้” เคล็ดลับแรกทักทายเพื่อนร่วมทางหรือ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในช่วงชีวิตเรา เมื่อเราเข้าใจและตระหนักรู้ในโรคซึมเศร้ามากขึ้นก็จะช่วยลดความรู้สึกปฏิเสธหรือต่อต้าน ลดความรู้สึกเครียด กลัวและกังวลภายในใจเราลงได้และเราจะสามารถอยู่กับโรคอย่างเข้าใจเพื่อพาตัวเองก้าวข้ามผ่านมันไปได้ง่ายขึ้นค่ะ

“เมื่อเราสามารถที่จะอยู่กับโรคซึมเศร้าอย่างเข้าใจเราจะวางใจได้ถูกที่ถูกทาง ใจเราก็จะไม่ถูกอารมณ์หรือสถานการณ์เหวี่ยงไปมาให้ทุกข์เกินจำเป็น”

เคล็ดลับที่ 2 วางใจตัวเองให้ถูก

น้องฟ้ามีความกังวลใจเป็นอย่างมากกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรกที่เพิ่งเริ่มกินยารักษาโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะเรื่องการนอนไม่หลับและไม่ต้องการกินยานอนหลับเพราะกลัวติดยา แต่พอนอนไม่หลับอาการรบกวนต่าง ๆ และความเครียด ความกลัว ความกังวลก็ยิ่งมีมากขึ้นจนทำให้เธอเริ่มแพนิกมากขึ้น หลังจากพูดคุยแนะนำกับเธอว่าควรกินยานอนหลับเป็นตัวช่วยไปก่อน ยานอนหลับนั้นไม่ได้ทำให้เธอติดยาและหากเราฝึกเยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเองเราจะสามารถปล่อยมือจากยาหรือหยุดยาได้ และจีได้อธิบายถึงระยะเวลาในการกินยาและการรักษาเพิ่มเติม รวมทั้งแนวทางในการรับมือกับอาการต่าง ๆ อีกด้วย เมื่อน้องฟ้าเริ่มเข้าใจอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและฝึกรับมือกับมันก็ช่วยให้น้องวางใจในการกินยาและการรักษาได้มากขึ้น น้องมีวินัยในการกินยาและไปพบคุณหมอตามนัด จึงทำให้อาการดีขึ้นเป็นลำดับ ในช่วงระหว่างที่เรียนรู้ไปด้วยกันมีช่วงเวลาที่เธอลืมกินยาและเริ่มแพนิก แต่เมื่อรู้วิธีรับมือ รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรก็ทำให้เธอสบายใจขึ้นได้ เพราะวางใจตัวเองได้ถูกที่ถูกทางมากขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม : รู้เท่าทันใจตนเมื่อต้องเผชิญกับความเศร้า

เคล็ดลับที่ 3 ปลุกใจตัวเองให้ตื่น

“ปกติหนูเป็นคนร่าเริง เข้ากับคนง่าย อารมณ์ดี กินง่าย กินเก่ง” เป็นประโยคที่น้องบอกถึงความเป็นปกติของตัวเองก่อนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อน้องพบกับความเปลี่ยนแปลงที่มาจากผลกระทบของโรคซึมเศร้าจึงทำให้น้องมีความรู้สึกเครียด กลัว และมีความกังวลสูงมากจนแพนิก จีจึงให้น้องสำรวจอาการหรือปัญหาที่มีเพื่อที่จะได้ตระหนักรู้และฝึกทำความเข้าใจกับความเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบของโรคซึมเศร้า เพื่อรับมือปรับตัวปรับใจได้ดีขึ้น อาการที่น้องมี คือ สมาธิลดลง วอกแวกง่าย ความจำไม่ดี เศร้าง่าย โกรธง่าย อารมณ์อ่อนไหว ปวดหัวข้างเดียว ปวดเมื่อยแขน ขา บ่า ไหล่บ่อย ๆ นอนไม่หลับ ฝันเยอะ มีอาการกรดไหลย้อน มีค่าไทรอยด์บางตัวที่สูง และอาการแพนิกร่วมด้วย

อ่านบทความเพิ่มเติม : โรคซึมเศร้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ต้องรับมือ

เคล็ดลับที่ 4 ฟื้ันคืนพลังชีวิต

การเสียสมดุลทางด้านร่างกาย จิตใจและจิตสังคมสามารถส่งผลก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว การฟื้นฟูเยียวยาทั้งสามด้านจะช่วยให้อาการดีขึ้นและสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถพาตัวเองกลับสู่สุขภาวะจากโรคซึมเศร้าสามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ แนวทางการเยียวยาโรคซึมเศร้าในแบบของจีนี้เน้นการเยียวยาเพื่อปรับสมดุลชีวิตและจิตใจ เมื่ออาการเริ่มทรงตัวการฝึกดูแลเยียวยาตัวเองสิ่งแรกที่น้องสามารถทำได้และเป็นวิธีที่จีจะแนะนำเพื่อน ๆ ผู้ป่วยก็คือ การออกกำลังกาย มันคือยาวิเศษที่จะช่วยฟื้นฟูเยียวยาสมอง ร่างกายและจิตใจได้ดีมาก น้องเริ่มต้นเดินและวิ่งรอบ ๆ หมู่บ้าน พาตัวเองไปออกกำลังกาย รับแสงแดดและพลังธรรมชาติ แล้วปรับพฤติกรรมการกินการนอนให้มีคุณภาพ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ฝึกผ่อนคลายและรับมือจัดการกับความเครียดความกังวลของตัวเอง จากนั้นการทำกิจกรรมที่สร้างความสุขและช่วยเยียวยาจิตใจเรา  กิจกรรมที่ช่วยเยียวยาใจน้องการทำขนม การปลูกต้นไม้ดีต่อใจช่วยให้น้องมีความสุขกับตัวเองและสิ่งที่ทำช่วยเยียวยาจิตใจน้องได้ดี  การทำบุญใส่บาตรในตอนเช้า เล่นกับน้องหมา ส่วนในเรื่องของความสัมพันธ์กับครอบครัวยังคงเป็นปัญหา เราได้พูดคุยและค่อย ๆ ปรับวิธีคิดเพื่อที่จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ภายในครอบครัวให้ดีขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม : 7 การบำบัดโรคซึมเศร้าที่ทำได้ด้วยตัวเราเอง

เคล็ดลับที่ 5 พิชิตปัญหาและอุปสรรค

โรคซึมเศร้าสามารถสร้างความทุกข์ทรมานใจและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราในทุกด้าน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีความคิดเป็นไปในด้านลบ ก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตตามมามากมายและที่สำคัญส่วนใหญ่ที่พบ “ตัวปัญหาอาจไม่ใช่ปัญหาแต่มุมมองทางความคิดหรือวิธีแก้ปัญหาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นมักจะเป็นปัญหา” เลยทำให้ติดอยู่กับปัญหา มองไม่เห็นทางออกหรือไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้

ปัญหาของน้องฟ้าปัญหาหลัก ๆ เลย คือ เรื่องการนอนไม่หลับ อาการแพนิก ปัญหาภายในครอบครัวและปัญหาเรื่องตกงาน หลังจากที่ได้ปรับวิธีคิดและปรับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องทำให้น้องสามารถที่จะรับมือกับปัญหาได้ดีขึ้น จนในที่สุดก็สามารถหยุดยานอนหลับและนอนหลับได้เองโดยไม่ต้องพึ่งยาอีกต่อไป และฝึกรับมือจัดการกับปัญหาภายในครอบครัวและเรื่องงานให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองและวิธีการแก้ปัญหาของน้องที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เคล็ดลับที่ 6 รักและเมตตาตัวเองให้เป็น

โรคซึมเศร้าทำให้เราไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันหรือทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ส่งผลให้เรารู้สึกไม่ดีกับตัวเราเอง รู้สึกกดดันในตัวเองโทษหรือตำหนิตัวเอง เมื่อเราคาดหวังว่าอยากทำอะไร ๆ ให้ได้เหมือนเดิมแล้วไม่สามารถทำได้ตามปกติ เราก็จะรู้สึกผิดหวังในตัวเอง รู้สึกไม่ดีพอและรู้สึกไร้ค่า ยิ่งถ้าหากผู้ป่วยเป็นคนที่มี ความพึงพอใจต่ำ (Low Self-esteem) เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งจะทำให้รู้สึกแย่กับตัวเองได้แบบดิ่งลงสู่หลุมดำของความรู้สึกเลยทีเดียว การฝึกที่จะรักและเมตตาตัวเองให้เป็น เริ่มต้นด้วยการฝึกลดความกดดันและความคาดหวังของตัวเราเองลง ไม่ตำหนิหรือโทษตัวเอง ฝึกให้อภัยตัวเองเมื่ีอทำผิดพลาดและให้โอกาสตัวเราเอง ฝึกสร้างพลังดี ๆ ทำสิ่งดี ๆ เพื่อตัวเอง ชื่นชมและให้กำลังใจตัวเอง จะช่วยให้เรามีพลังที่จะพาตัวเองก้าวข้ามผ่านปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้และมีความสุขกับตัวเองได้มากขึ้น น้องฟ้าสามารถที่จะฝึกรักและเมตตาตัวเองได้มากขึ้น ดูแลเยียวยากายใจตัวเองจนน้องอาการดีขึ้นสามารถก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากของชีวิตไปได้

เคล็ดลับที่ 7 เบี่ยงเบนเส้นทางชีวิตใหม่

เส้นทางความคิดเป็นตัวขับเคลื่อนวิถีชีวิตของเรา เมื่อน้องฟ้าได้ปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยส่งผลหรือเป็นตัวกระตุ้นอาการของโรคแล้ว น้องสามารถเบี่ยงเบนเส้นทางชีวิตของตัวเองใหม่ ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันหรือวิถีชีวิตของตัวเองใหม่เพื่อสร้างสมดุลสุขภาพกายใจ อีกทั้งยังค้นพบว่าตัวเองชอบปลูกต้นไม้และสามารถสร้างรายได้จากการปลูกต้นไม้น่ารัก ๆ ขายได้อีกด้วย ทุกวันนี้น้องเข้าใจตัวเองมากขึ้น รักตัวเองมากขึ้น จัดการกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตัวเองได้ดีขึ้น และมีความสุขกับการใช้ชีวิตมากขึ้นอีกด้วย

โรคซึมเศร้าอาจจะทำให้เรารู้สึกเหมือนเดินทางอย่างโดดเดี่ยวอยู่ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เราอาจจะรู้สึกกลัว โดดเดี่ยว อ้างว้าง และทุกข์ใจ อยากให้พายุนั้นมันพัดผ่านไปเร็ว ๆ ในความเป็นจริงเราไม่อาจควบคุมพายุได้ แต่เราสามารถที่จะดูแลชีวิตและจิตใจตัวเองได้ หากเราเปิดใจเรียนรู้ที่จะมีความสุขท่ามกลางความทุกข์ได้ เราจะมีพลังในการพาตัวเองก้าวข้ามผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ง่ายขึ้น และเมื่อวันนึงพายุพัดผ่านไปเราก็จะได้พบกับท้องฟ้าที่สวยสดใสและสายรุ้งที่งดงาม การเปิดใจเพื่อที่จะเรียนรู้แนวทางการก้าวข้ามผ่านโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเองจะช่วยให้คุณได้มองเห็นแนวทางในการดูแลเยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองเพื่อที่จะอยู่กับโรคอย่างเข้าใจ เมื่อคุณสามารถก้าวข้ามผ่านมันไปได้คุณจะรู้สึกเหมือนได้พบกับฟ้าหลังฝนที่สดใสและงดงามเช่นกัน

ขอขอบคุณน้องฟ้า (นามสมมติ) ที่อนุญาตให้แชร์ประสบการณ์ เยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยตัวเราเอง เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเพื่อน ๆ และขอแสดงความยินดีกับน้องฟ้าที่สามารถกลับมาใช้ชีวิตที่มีความสุขได้มากกว่าเดิมด้วยนะคะ

Cr. Photos by Pixabay.com

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม : แชร์ประสบการณ์หายป่วยจากซึมเศร้า (แบบไม่ใช้ยา)

หากต้องการพูดคุยกับจีหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเยียวยาบำบัดโรคซึมเศร้าทางเลือก สามารถแอดไลน์เพิ่มเพื่อนได้เลยค่ะ

เพิ่มเพื่อน

2 COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here